วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตไม้ประดับ

การที่ไม้ประดับจะเจริญเติบโต แข็งแรงและมีสุขภาพดีได้นั้น หาได้ขึ้นอยู่กับการให้น้ำและให้ปุ๋ยอย่างเพียงพอเท่านั้นไม่ แต่ยังมีปัจจัยสำคัญอื่น ๆ ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของไม้ประดับอยู่อีกหลายประการ ที่ผู้ปลูกเลี้ยงควรจะรู้และทำความเข้าใจเอาไว้ ปัจจัยที่สำคัญที่มีผลต่ออาการเจริญเติบโตของไม้ประดับ มีอยู่ด้วยกันหลายประการ ดังนี้คือ
       - แสงสว่าง
       - อุณหภูมิ
       - น้ำและความชื้น
       - อากาศ
       - ธาตุการหาร
       - ดิน


แหล่งที่มา : http://www.maipradabonline.com/saramaipradab/kex1.htm <ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตไม้ประดับ>

การขยายพันธุ์

การขยายพันธุ์ คือการเพิ่มจำนวนหรือปริมาณของพืชที่เราต้องกรรให้มากขึ้น การขายพันธุ์นั้น แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
   1. การขยายพันธุ์โดยใช้เพศ ได้แก่ การเพราะเมล็ดหรือสปอร์
  2. การขยายพันธุ์โดยไม่ใช้เพศ ได้แก่ การใช้ส่วนต่างๆ ของพืช เช่น การตอน การตัดชำ การทาบกิ่ง การต่อกิ่ง การแยกหน่อ ฯลฯ
     ในการขยายพันธุ์ไม้ประดับนี้ก็ไม่ได้แตกต่างไปจากพืชประเภทอื่นเลยแต่ทั้งนี้และทั้งนั้นในการขยายพันธุ์ไม้ประดับ
ก็จะต้องพิจารณาถึงชนิดและประเภท
     ของพันธุ์ไม้ด้วย สำหรับวิธีขยายพันธุ์นั้นมีอยู่มากมายหลายชนิดแต่วิธีที่กล่าวถึงต่อไปนี้ ถือเป็นวิธีขยายพันธุ์ที่ง่ายได้ผลดีและได้รับความนิยมกันมาก
     ได้ก่ การเพาะเมล็ด การตอน การตัดชำและการแยกหน่อ


แหล่งที่มา : http://www.maipradabonline.com/saramaipradab/kex3.htm <การขยายพันธุ์>

การแยกหน่อ

การแยกหน่อนี้ เป็นการขยายพันธุ์ สำหรับพืชที่มีหน่อหรือมีลำต้นอยู่ใต้ดิน โดยทั่วไปนิยมแยกหน่อที่มีขนาดเล็ก ที่เกิดอยู่รอบ ๆ ต้นแม่ การแยกหน่อเป็นการขยายพันธุ์ที่ไม่ยาก แต่จะต้องอาศัยความระมัดระวังในการขุดหรือตัดแยก คืออย่าให้หน่อที่แยกออกมานั้นหักหรือช้ำเป็นอันขาด และต้องให้มีรากติดมาด้วยเสมอ พืชที่นิยมขยายพันธุ์โดยวิธีนี้ ได้แก่ พืชตระกูลหมาก ตระกูลปาล์มและตระกูลกล้วย เป็นต้น

แหล่งที่มา : http://www.maipradabonline.com/saramaipradab/kex3.htm การแยกหน่อ

การตัดชำราก

การตัดชำราก เป็นการตัดชำที่นิยมทำกันน้อยกว่าการตัดชำกิ่งและใบ เพราะสามารถทำได้กับพืชบางชนิดเท่านั้น เช่น สน แคแสด สายรุ้งและเข็ม เป้นต้น รากที่จะนำมาตัดชำนั้น จะต้องเป็นรากที่สมบูรณ์ไม่มีโรคและแมลงรบกวน รากที่จะนำมาชำควรมีขนาดไมม่เกินครึ่งนิ้ว ตัดให้เป็นท่อน ยาวท่อนละประมาณ 7-8 ซ.ม. นำไปชำในทรายผสมถ่านแกลบ อัตราส่วน 1 : 1 วางให้นอนลง ให้ปลายรากอยู่ด้านล่าง ส่วนด้านโคนรานั้นให้อยู่สูงกว่าโดยให้อยู่เสมอกับผิดของวัสดุปลูก กลบด้วยวัสดุปลูกให้หนาประมาณ 1 นิ้ว ดูแล รดน้ำให้ชุ่มอยู่ตลอดเวลา ประมาณ 45 - 60 วัน ต้นอ่อนก็จะโผล่ขึ้นมารอจน แตกรากดีแล้วจึงย้ายไปปลูกต่อไป (ตามปรกติการตัดชำรากนี้จะเกิดต้นอ่อน ขึ้นมาก่อน แล้วจึงจะเกิดรากตามมาที่หลัง)

แหล่งที่มา : เข้าถึงได้จาก http://www.maipradabonline.com/saramaipradab/kex3.htm <การตัดชำราก>

การตอน

การตอน คือการทำให้กิ่งหรือลำต้นของพืชที่เราต้องการ ออกรากในขณะที่ยังติดอยู่กับต้นเดิม การขยายพันธุ์ดดยการตอนนั้นมีอยู่หลายแบบหลายวิธีด้วยกัน แต่ที่จะแนะนำนี้เป็นวิธีการตอนโดยไม่ใช้ดิน ซึ่งเป็นวิธีการที่ได้รับความนิยมมากในหมู่ผู้เพาะและขยายพันธุ์ไม้ประดับ โดยการใช้ขุยมะพร้าวแทนดิน ซึ่งมีวิธีปฎิบัติง่าย ๆ ดดยนำขุยมะพร้าวมาแช่น้ำไว้ประมาณ 1 คืน แล้วนำไปบรรจุในถุงพลาสติกขนาด 4 X 6 นิ้ว แล้วรัดปากถุงให้แน่น หลังจากนั้นจึงทำการควั่นกิ่งที่ต้องการจะตอน (กิ่งที่จะตอนควรเป็นกิ่งที่ไม่แก่ไม่อ่อนจนเกินไปหรือเป็นกิ่งที่มีอายุประมาณ 1 ปี) ดดยควั่นให้เป็นรอยห่างกัน เท่ากับเส้นรอบวงของกิ่งแล้วแกะเอาเปลือกออก ใช้มีดขุดบริเวณรอบควั่นเพื่อเอาเยื่อเจริญออก โดยขุดจากบนลงล่าง ถ้าต้องการให้รากออกเร็วจะใช้ฮอร์โมนเร่งราก ทาก็ได้ โดยทาบริเวณรอยขูดด้านบน เมื่อเสร็จจากการควั่นกิ่งแล้ว นำถุงบรรจุขุยมะพร้าวมากรีดตามยาว การกรีดต้องกรีดให้ลึกลงไปในขุยมะพร้าวด้วยนำถุงขุยมะพร้าวที่กรีดแล้วไปประบกับบริเวณที่ควั่นควรให้กิ่งอยู่ตรงกลางถุงมากที่สุด แล้วใช้เชือกหรือลวดรัดถุงขุยมะพร้าวติดกับกิ่งให้แน่น อย่าให้โยกหรือคลอนได้เพราะจะทำให้รากขาด ทิ้งเอาไว้ประมาณ 3-5 สัปดาห์ รากก็จะงอกออก รอจนรากป็นสีเหลืองหรือน้ำตาลอ่อน ๆ แล้วจึงบากเตือนทิ้งไว้อีกประมาณ 1 สัปดาห์ จึงตัดไปชำเพื่อรอการปลูกต่อไป

แหล่งที่มา : http://www.maipradabonline.com/saramaipradab/kex3.htm <การตอน>

สารภี

สารภี

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mammea siamensis Kosterm.
ชื่อวงศ์ : CLUSIACEAE
ชื่ออื่น : ทรพี, สร้อยพี, สารภีแนน

รูปลักษณะ : สารภี เป็นไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามรูปไข่ กลับแกมขอบขนาน กว้าง 4-5 ซม. ยาว 10-15 ซม. เนื้อใบค่อนข้างเหนียวและหนา ดอกเดี่ยวหรือช่อ ออกเป็นกระจุกตามกิ่ง กลีบดอกสีขาว กลิ่นหอม ร่วงง่าย มีเกสรตัวผู้สีเหลืองจำนวนมาก ผลเป็นผลสด รูปกระสวย

สรรพคุณของ สารภี : ดอกแห้ง ตำรายาไทยใช้ดอกแห้งปรุงยาหอม บำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น ชูกำลัง จัดอยู่ในพิกัดเกสรทั้งห้า
แหล่งที่มา : http://www.pixiart.com/archives/herb/ <สารภี>

สนุ่น

สนุ่น

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Willow, Salix tetrasperma Roxb.
ชื่อวงศ์ : SALICACEAE
ชื่ออื่น : คล้าย, ไคร้นุ่น, ไคร้บก, ตะไคร้บก, ไคร้ใหญ่, ตะหนุ่น, สนุนน้ำ

รูปลักษณะ : สนุ่น เป็นไม้ยีนต้น สูง 5-10 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอกกว้าง 2-3 ซม. ยาว 5-10 ซม. ท้องใบสีขาว ขอบใบหยักซี่ฟัน ก้านใบสีแดง ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ แยกเพศ อยู่คนละต้น ไม่มีกลีบดอก ผลแห้ง แตกได้

สรรพคุณของ สนุ่น : เปลือก เป็นยาบำรุงหัวใจ แก้ไข้ ต้มน้ำอาบแก้ไข้ แก้หวัด คัดจมูก ในเปลือกต้นพบสาร Salicin มีฤทธิ์ลดไข้ แก้ปวดเช่นเดียวกับแอสไพริน (Aspirin) ใบ น้ำคั้นใบสด แก้พิษงูสวัด

แหล่งที่มา : เข้าถึงได้จาก http://www.pixiart.com/archives/herb/ <สนุ่น>

รสสุคนธ์

รสสุคนธ์

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tetracera loureiri (Finet et Gagnep.) Pierre ex Craib
ชื่อวงศ์ : DILLENIACEAE
ชื่ออื่น : เถากกะปดใบเลื่อม, บอระคน, อรคนธ์, ปดคาย, ปดเลื่อน, ปดน้ำมัน, มะตาดเครือ, รสสุคนธ์ขาว, สุคนธรส, เสาวรส, ย่านปด

รูปลักษณะ : รสสุคนธ์ เป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็งขนาดกลาง ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรี กว้าง 4-7 ซม. ยาว 7-16 ซม. ขอบใบหยักฟันเลื่อย แผ่นใบสากมือ สีเขียวเข้ม ดอกช่อแยกแขนง ออกที่ซอกใบ และปลายกิ่ง ดอกย่อยจำนวนมาก มีใบประดับ กลีบดอกสีขาว มีกลิ่นหอม ผลเป็นฝัก รูปเกือบกลม แตกตะเข็บเดียว เมล็ดรูปไข 1-2 เมล็ด มีเยื่อหุ่มสีแดง

สรรพคุณของ รสสุคนธ์ : ดอก ใช้ดอกเข้ายาหอมบำรุงหัวใจ แก้เป็นลม อ่อนเพลีย

แหล่งที่มา : เข้าถึงได้จาก http://www.pixiart.com/archives/herb/ <รสสุคนธ์>

มะพร้าว

มะพร้าว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Coconut, Cocos nucifera Linn.
ชื่อวงศ์ : ARECACEAE
ชื่ออื่น : หมากอุ๋น, หมากอูน

รูปลักษณะ : มะพร้าว เป็นไม้ยืนต้นจำพวกปาล์ม สูงได้ถึง 25 เมตร ลำต้นตั้งตรง ไม่แตกกิ่ง มีรอยแผลเมื่อก้านใบหลุดออกไป ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ หนาแน่นที่บริเวณยอด ยาว 4-6 เมตร ใบย่อยรูปพัดจีบ กว้าง 1.5-5 ซม. ยาว 50-100 ซม. ดอกช่อ ออกระหว่างก้านใบ ดอกย่อยจำนวนมาก แยกเพศ อยู่บนต้นเดียวกัน ดอกตัวผู้สีเหลืองหม่น ดอกตัวเมียสีเขียว หรือเขียวแกมเหลือง ใบประดับยาว 60-90 ซม. ผล เป็นผลสด รูปใข่แกมทรงกลมหรือรูปไข่กลับ สีเขียวหรือเขียวแกมเหลือง เนื้อสีขาว

สรรพคุณของ มะพร้าว : น้ำมะพร้าว มีเกลือโปแตสเซียมและน้ำตาลกลูโคสสูง อาจทำให้น้ำตาลในเลือดสูง มีเกลือคลอไรด์และโซเดียมต่ำกว่าผงน้ำตาลเกลือแร่ สูตรองค์การอนามัยโลก ที่ใช้กับโรคท้องเสีย ทำให้ชุ่มคอ บำรุงธาตุไฟ ช่วยกระตุ้นการหายใจ มีฤทธิ์ขับปัสสาวะเล็กน้อย

แหล่งที่มา : เข้าถึงได้จาก http://www.pixiart.com/archives/herb/ <มะพร้าว>

มะลิลา

มะลิลา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Arabian Jasmine, Jasminum sambac Ait.
ชื่อวงศ์ : OLEACEAE
ชื่ออื่น : มะลิซ้อน, ข้าวแตก, มะลิ, มะลิขี้ไก่, มะลิป้อม, มะลิหลวง

รูปลักษณะ : มะลิลา เป็นไม้พุ่ม สูง 1-2 เมตร ใบประกอบ ชนิดมีใบย่อยใบเดียว เรียงตรงข้าม รูปไข่ รูปวงรีหรือรูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 3-6 ซม. ยาว 5-10 ซม. สีเขียวแกมเหลือง ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบ กลีบดอกสีขาว กลิ่นหอม มะลิลามีกลีบดอกชั้นเดียว ส่วนมะลิซ้อนมีกลีบดอกซ้อนกันหลายชั้น ผลเป็นผลสด

สรรพคุณของ มะลิลา : ดอกแห้ง จัดอยู่ในพิกัดเกสรทั้งห้า ใช้ปรุงยาหอม ทำให้จิตใจชุ่มชื่น แก้ไข้

แหล่งที่มา: เข้าถึงได้จาก http://www.pixiart.com/archives/herb/ <มะลิลา>

มะตูม

มะตูม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bael Fruit Tree, Bengal Quince, Aegle marmelos (Linn.) Corr.
ชื่อวงศ์ : RUTACEAE
ชื่ออื่น : กะทันตาเถร, ตุ่มตัง, ตูม, มะปิน

รูปลักษณะ : มะตูม เป็นไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร ใบประกอบแบบนิ้วมือ เรียงสลับ ใบย่อย 3 ใบ รูปวงรี หรือรูปไข่แกมใบหอก กว้าง 2-7 ซม. ยาว 4-13 ซม. ขอบใบหยักมน ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ และที่ปลายกิ่ง กลีบดอกด้านนอกสีเขียวอ่อน ด้านในสีนวล ใบและดอกมีกลิ่นหอม ผล เป็นผลสด เนื้อในสีเหลือง มีน้ำเมือก

สรรพคุณของ มะตูม : ผลดิบแห้ง ใช้ชงดื่ม ทำให้สดชื่น หายอ่อนเพลีย แก้ท้องเสีย แก้บิด ผลสุก เป็นยาระบาย ช่วยย่อยอาหาร
แหล่งที่มา : เข้าถึงได้จาก http://www.pixiart.com/archives/herb/ <มะตูม>

พะยอม

พะยอม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Shorea roxburghii G. Don
ชื่อวงศ์ : DIPTEROCARPACEAE
ชื่ออื่น : กะยอม, ขะยอมดง, แคน, พะยอมดง, พะยอมทอง, ยางหยวก

รูปลักษณะ : พะยอม เป็นไม้ยืนต้น สูง 15-30 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนาน กว้าง 4-6 ซม. ยาว 8-12 ซม. ขอบใบเป็นคลื่น ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว กลิ่นหอม ผลแห้ง รูปกระสวย มีปีกยาว 3 ปีก ปีกสั้น 2 ปีก

สรรพคุณของ พะยอม : เปลือกต้น ต้นน้ำดื่มเป็นยาฝาดสมาน แก้ท้องเดินและสำไส้อักเสบ สารที่ออกฤทธิ์คือ แทนนิน นอกจากนี้ยังใช้เปลือกต้นเป็นยากันบูดด้วย ดอก ใช้เป็นยาลดไข้ เข้ายาหอมบำรุงหัวใจ

แหล่งที่มา : เข้าถึงได้จาก http://www.pixiart.com/archives/herb/ <พะยอม>

บุนนาค

บุนนาค

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Iron Wood, Mesua ferrea Linn.
ชื่อวงศ์ : CLUSIACEAE
ชื่ออื่น : สารภีดอย

รูปลักษณะ : บุนนาค เป็นไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร ลำต้นตรง ใบอ่อนสีแดง ใบเดี่ยว รูปใบหอก กว้าง 2-4 ซม. ยาว 7-12 ซม. เนื้อในบาง เหนียว ดอกเดี่ยวหรือออกเป็นคู่ที่ซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว มีเกสรตัวผู้สีเหลืองจำนวนมาก กลิ่นหอมเย็น ผลเป็นผลสด

สรรพคุณของ บุนนาค : ดอกสด มีน้ำมันหอมระเหย ดอกแห้ง จัดอยู่ในพิกัดเกสรทั้งห้า ใช้เป็นยาฝาดสมาน บำรุงธาตุและขับลม บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ

แหล่งที่มา : เข้าถึงได้จาก http://www.pixiart.com/archives/herb/ <บุนนาค>

บานทน

บานทน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Strophanthus gratus (Wall. ex Hook.) Baill.
ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE
ชื่ออื่น : แย้มปีนัง, หอมปีนัง

รูปลักษณะ : บานทน เป็นไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง สูง 3-5 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 4-6 ซม. ยาว 9-13 ซม. ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อย 5-20 ดอก กลิ่นหอม กลีบดอกสีม่วงแกมชมพู เชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง ผลเป็นฝัก รูปเรียวยาว เมล็ดสีน้ำตาล มีขนสีขาว

สรรพคุณของ บานทน : เมล็ด พบสารที่ออกฤทธิ์ กระตุ้นหัวใจในเมล็ดคือ ออเบน(Ouabain) บางประเทศในยุโรป สกัดทำเป็นยาฉีดรักษาโรคหัวใจ มีความเป็นพิษสูง ไม่สมควรกินในลักษณะสมุนไพร อาการพิษ คลื่นไส้ ท้องเสีย หัวใจเต้นแรงและเร็ว ต้องรีบทำให้อาเจียน และนำส่งโรงพยาบาลทันที

แหล่งที่มา : เข้าถึงได้จาก http://www.pixiart.com/archives/herb/ <บานทน>

ชมพู่น้ำดอกไม้

ชมพู่น้ำดอกไม้

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rose Apple, Syzygium jambos (Linn.) Alston
ชื่อวงศ์ : MYRTACEAE
ชื่ออื่น : ฝรั่งน้ำ, มะซามุด, มะน้ำหอม, มะห้าคอกลอก

รูปลักษณะ : ชมพู่น้ำดอกไม้ เป็นไม้ยืนต้น สูงได้ถึง 10 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปขอบขนานแกมใบหอก กว้าง 3-4 ซม. ยาว 12-17 ซม. ดอกช่อกระจะ ออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อย 3-8 ดอก กลีบดอกสีขาวหรือเหลืองอ่อน ฐานรองดอกรูปกรวย เกสรตัวผู้จำนวนมาก ผลเป็นผลสด กินได้ รูปเกือบกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 5-6 ซม.

สรรพคุณของ ชมพู่น้ำดอกไม้ : ผล ใช้ปรุงเป็นยาหอม ชูกำลัง บำรุงหัวใจ แก้ลมปลายไข้ เปลือก, ต้น และเมล็ด แก้เบาหวานและแก้ท้องเสีย

แหล่งที่มา:เข้าถึงได้จาก http://www.pixiart.com/archives/herb/ <ชมพู่น้ำดอกไม้>

กาแฟ

กาแฟ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Robusta Coffee, Coffea canephora Pierre ex Froehner
ชื่อวงศ์ : RUBIACEAE
ชื่ออื่น : กาแฟใบใหญ่

รูปลักษณะ : กาแฟ เป็นไม้พุ่ม สูง 2-4 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปขอบขนาน กว้าง 8-12 ซม. ยาว 15-20 ซม. หูใบอยู่ระหว่างก้านใบ ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว ติดกันเป็นหลอด มีกลิ่นหอม ผลเป็นผลสด รูปไข่แกมทรงกลม เมื่อสุกสีแดง

สรรพคุณของ กาแฟ : เมล็ด เมล็ดมีคาเฟอีนเป็นยากระตุ้นหัวใจ ยากระตุ้นประสาทส่วนกลาง ทำให้นอนไม่หลับ พบสาร Theophylline มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ จากการทดลองพบว่า การดื่มกาแฟทำให้หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น เพราะมีสาร Theobromine อาจทำให้มีอาการปวดแสบที่ลิ้นปี่ นอกจากนี้กาแฟ ยังลดการดูดซึมธาติเหล็กอีกด้วย จึงควรระวังในการดื่มกาแฟ โดยเฉพาะขณะท้องว่าง

แหล่งที่มา:เข้าถึงได้จาก http://www.pixiart.com/archives/herb/ <กาแฟ>

กฤษณา

กฤษณา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eagle Wood, Aquilaria crassna Pierre ex H. Lee
ชื่อวงศ์ : THYMELAEACEAE

รูปลักษณะ : กฤษณา เป็นไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร ลำต้นตรง เปลือกเรียบสีเทา เนื้อไม้อ่อนสีขาว ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรีแกมขอบขนาน กว้างประมาณ 6 ซม.ยาว 12 ซม. ผิวเป็นมัน ดอกช่อ ออกเป็นช่อเล็กๆ ที่ซอกใบและปลายกิ่ง ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาวแกมเขียว ผลแห้ง รูปวงรี เปลือกแข็ง มีขนสีเทา เมื่อแก่จะแตก กลีบเลี้ยงเจริญติดอยู่กับผล

สรรพคุณของ กฤษณา : แก่น แก่นไม้กฤษณาที่มีสีดำและมีกลิ่นหอม ใช้ผสมยาหอม แก้อ่อนเพลียบำรุงกำลัง แก้ลมวิงเวียนศีรษะ คุมธาตุ บำรุงโลหิตและหัวใจ อาเจียน ท้องร่วง แก้ไข้ต่างๆ บำบัดโรคปวดบวมตามข้อ ปัจจุบันนี้ หาเนื้อไม้กฤษณาเพื่อใช้ทำยายากขึ้น และมีราคาแพง



แหล่งที่มา:เข้าถึงได้จาก http://www.pixiart.com/archives/herb/ <กฤษณา>